วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมวาดภาพระบายสี & นิทาน


วัสดุอุปกรณ์
 1. สมุดวาดเขียน

2.ปากกาสีดำ

3.สีไม้แท่งเดี่ยว (แนะนำให้ใช้ Colleen ค่ะ )




วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักการทำงาน โดยอาศัยการคิดอย่างเป็นระบบ (system thinking) คือ จะต้องคิดให้ได้ว่างานนั้นมีกระบวนการหรือขั้นตอนอย่างไร ควรทำอะไรก่อน ทำอะไรหลัง ในแต่ละขั้นตอนของงานควรใช้เวลาแค่ไหนถึงจะเสร็จ 

กระบวนการทำงาน

1.ฝึกทักษะย่อย  : ฝึกเขียนตัวหนังสือเป็นแบบต่างๆ เช่น สามมิติ ด้วยปากกา




2. ฝึกทึกษะการวาดรูปการ์ตูนด้วยปากกา



ขั้นตอนการทำงานจริง

1. เขียนตัวอักษร ตามที่ต้องการ พร้อมวาดรูปตกแต่ง
2. ระบายสีโดยใช้ทักษะหลักการไล่สี

1.สีโทนเย็น
ชุดที่ 1 ดำ - น้ำเงิน - เขียวแก่
ชุดที่2 เขียวแก่ - เขียวอ่อน - เหลือง
ชุดที่3 น้ำเงิน - เขียวแก่ - เขียวอ่อน
2. สีโทนร้อน
ชุดที่ 1 ดำ - น้ำตาล - แดง
ชุดที่2 น้ำตาล - แดง - ส้ม
ชุดที่3 แดง- ส้ม - เหลือง

3. ลงมือปฏิบัติจริงได้เลยคะ



เขียนชื่อตัวเอง


การไล่สี


การเขียนน่าการ์ตูน


สัตว์ 2 เท้า


แมลง


สัตว์ 4 เท้า


สัตว์เลื้อยคลาน


คนน่ารัก


 ต้นไม้


ดอกไม้


ยานพาหนะ



นิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า




** เนื้อเรื่องนิทานกระต่ายกะต่อ **

มีอยู่ในวันหนึ่ง ได้มีเต่าตัวหนึ่งคลานต้วมเตี้ยม ๆและที่ตรงอีกทางด้านหนึ่งก็ได้มีกระต่ายตัวหนึ่งวิ่งผ่านมา ฮิฮิ! นี่เจ้าเต่า นายชอบ ที่จะเดินต่วมเตี้ยม ๆ อยู่อย่างนี้เสมอ ๆ ทำไมนายถึงได้เดินได้ช้าอย่างนั้นเล่า? " เต่าจึงได้พูดว่า " ถึงแม้ว่าข้าจะเดินได้ช้า แต่ถ้าพูดถึงเรื่องของความอดทนแล้วข้าไม่เคยแพ้ใคร " นายลองมาแข่งขันวิ่งไปที่บนยอดเขานั่นกับข้าดูเอาไหมล่ะ ? " กระต่ายจึงรับคำท้าของเจ้าเต่า การแข่งขันเริ่มขึ้น กระต่ายได้วิ่งไปอย่างเร็ว และได้เผลอหลับไป จนทำให้เจ้าเต่าเข้าเส้นชัยชนะไปโดยสิ้นเชิง
......นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า.......
อย่าประมาทหรือดูถูกผู้ที่ต่ำต้อยหรือด้อยกว่าเรา


การประเมินผลงานด้วยตนเอง

1. ให้คะแนนผลงานตัวเอง 
2. อาจารย์ผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินคะแนนที่เหมาะสม

การนำไปประยุกต์ใช้

1. หลักการคิด คือสามารถนำความรู้เรื่องการคิดอย่างเป็นระบบไปใช้ในการทำงานในชีวิตประจำวันได้ ทั้งด้านการเรียน การทำงานเดียวและการทำงานเป็นกลุ่ม  จะต้องคิดให้ได้ว่างานนั้นมีกระบวนการหรือขั้นตอนอย่างไร ควรทำอะไรก่อน ทำอะไรหลัง ในแต่ละขั้นตอนของงานควรใช้เวลาแค่ไหนถึงจะเสร็จ ควรมอบหมายงานให้กับใครรับผิดชอบ และหากเจ้าหน้าที่ไม่ว่างหรือไม่อยู่ ควรจะมอบหมายให้กับผู้ใดทำแทน เป็นต้น 
2. การสังเกตปรับปรุงแก้ไข คือ สามารถพิจารณางานของตนเองได้ว่าควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไนเพื่อให้งานออกมาดีขึ้นกว่าเดิม 

การนำไปใช้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ และการงานอาชีพ

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1. สร้างนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพได้
2. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้บุคคลอื่นที่สนใจได้
3. นำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น